10/06/2015

วิธีคำนวณ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ภ.ง.ด.1 3 53


1.ภ.ง.ด.1, 3, 53

-วิธีคิด เบื้ยปรับ กรณียื่นล่าช้า เกินกำหนด
ยกตัวอย่าง ภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ต้องจ่ายห้ามเกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (คือถัดจากเดือนภาษี) แต่ถ้าเกินกำหนด ภายในวันที่ 7 ให้เอายอดภาษีที่ต้องจ่าย*1.5*จำนวนเดือน
วิธีคิด จำนวนเดือน เช่น ภาษีเดือน 1/55 ต้องยื่นภายใน วันที่ 7/2/55
ถ้าเกินวันที่ 7/2/55 ให้คิดตามตัวอย่างด้านล่างดังนี้
- วันที่ 8 ก.พ. - 7 มี.ค. คือจำนวน 1 เดือน
- วันที่ 8 มี.ค.- 7 เม.ษ. คือจำนวน 2 เดือน *ถ้าเรายื่นแบบเกินกำหนด วันที่ 7 ของเดือนถัดไปแล้ว

เราจะต้องเสียค่าปรับแบบ ในกรณียื่นแบบหลังจากวันที่ 7 ด้วย

1. กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
2. กรณีเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท



10/04/2015

การยื่นแบบภาษีต่างๆ


1). ภ.ง.ด.1, 3, 53 (ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย)
ยื่นภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

2). ภ.พ.30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

3). ภ.ง.ด.50 ( ใช้สำหรับเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ) ยื่นภายใน 150 วัน นับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

4). ภ.ง.ด.51 ( ใช้สำหรับเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ) ยื่นภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

5). ภ.ง.ด.90 ,91 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
ยื่นภายในสิ้นเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีภาษี

6). ภ.ง.ด.1ก
ยื่นภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของปีถัดไป






10/03/2015

ประกันสังคม

ผู้ที่มีหน้าที่ชำระประกันสังคม คือธุรกิจที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนเอกสารที่ต้องใช้

- การขึ้นทะเบียนนายจ้าง สปส.1-01
- หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-02
- แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03
- แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับเคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03/1
- หนังสือการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09
- การนำส่งยอดประกันสังคมรายเดือน สปส.1-10

การคำนวณยอดประกันสังคม
*จำนวนเงินที่ต้องชำระ = อัตราเงินเดือน x 5% ( ไม่เกิน 750 บาท ต่อคน )

ผู้ที่ต้องชำระประกันสังคม
*นายจ้าง และ ผู้ประกันตน


สิทธิประโยชน์
กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
-ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่เลือกและได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างที่หยุดพัก จำนวนครึ่งหนึ่งของจ้างตามจำนวนวันที่หยุดจริงไม่เกินครั้งละ 90 วัน (180 วัน/ปี)

กรณีคลอดบุตร
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนคลอดบุตร จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 6,000 บาท และเงินสงเคราะห์อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน ( รวมไม่เกิน 4 ครั้ง )

กรณีทุพพลภาพ
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน จะได้ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิตหรือรับค่าทำศพ 3,000 บาท

กรณีถึงแก่ความตาย
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท และสงเคราะห์ หนึ่งเดือนครึ่ง (ทำงาน 3-10 ปี) และห้าเดือน (ทำงาน 10 ปีขึ้นไป)

กรณีสงเคราะห์บุตร
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์บุตรเหมาบุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาทต่อบุตรหนึ่งคน จนอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์


กรณีชราภาพ
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ มีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และสิ้นสุด การประกันตน มีสิทธิเลือกเงินบำนาญร้อยละ 15 ของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หรือบำเหน็จตามหลักเกณฑ์

กรณีว่างงาน
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน กรณีถูกจ้างได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และกรณีลาออกได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง

10/01/2015

มีอะไรในงบการเงิน



งบการเงิน ประกอบด้วย
1. งบดุล หมายถึงงบที่แสดงฐานะการเงินของบริษัท ณ วันสิ้นงวด ว่าบริษัทร่ำรวยขนาดไหน สินทรัพย์เท่าไหร่ หนี้สินเท่าไหร่

2. งบกำไรขาดทุน หมายถึงงบที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท ในแต่ละงวด หรือเรียกง่ายๆว่า "กำไรขาดทุน"

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึงงบที่แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวในแต่ละงวดของ "ส่วนได้เสีย" ที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่ในบริษัท เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ถือหุ้นได้นำเงินมาลงทุนในบริษัทเท่าไหร่ ได้รับผลตอบแทน (ที่เรียกว่า "เงินปันผล") กลับคืนไปเท่าไหร่

4. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หมายถึงงบที่สามารถนำมาแสดงแทน "งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น" คืองบที่แสดงให้เห็นว่าในแต่ละงวด เจ้าของบริษัทได้รับเงินปันผลทั้งสิ้นจากการลงทุนเท่าไหร่

5. งบกระแสเงินสด หมายถึงงบที่แสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของเงินสดว่าในแต่ละงวด บริษัทได้รับและจ่ายเงินสดอย่างไร

6. หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายถึงคำอธิบายเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจมากขึ้นว่าแต่ละตัวเลขที่แสดงในงบการเงินได้นั้นมีที่มาหรือได้มายังไง

ยื่นงบการเงิน

เอกสารที่ต้องนำส่งงบการเงิน

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

*ออกประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน ฉบับที่ 6พ.ศ. 2552 ลดจำนวนเอกสารงบการเงินประจำปีลงจากเดิมอย่างละ 1 ชุด/ฉบับ ดังนี้

1.ธุรกิจที่ต้องส่งงบการเงินที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
1.1 งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี 1 ชุด
1.2 แบบนำส่งงบการเงิน (แบบสบ.ช 3) 2 ฉบับ

2.ธุรกิจที่ต้องส่งงบกาเงินที่สำนักงานใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
2.1 งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี 2 ชุด
2.2 แบบนำส่งงบการเงิน (แบบสบ.ช.3) 3 ฉบับ
*
*
2. กรมสรรพากร

เอกสารที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร

- งบการเงิน จำนวน 1 เล่ม
- แบบ ภ.ง.ด. 50 จำนวน 1 ชุด