10/03/2015

ประกันสังคม

ผู้ที่มีหน้าที่ชำระประกันสังคม คือธุรกิจที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนเอกสารที่ต้องใช้

- การขึ้นทะเบียนนายจ้าง สปส.1-01
- หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-02
- แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03
- แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับเคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03/1
- หนังสือการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09
- การนำส่งยอดประกันสังคมรายเดือน สปส.1-10

การคำนวณยอดประกันสังคม
*จำนวนเงินที่ต้องชำระ = อัตราเงินเดือน x 5% ( ไม่เกิน 750 บาท ต่อคน )

ผู้ที่ต้องชำระประกันสังคม
*นายจ้าง และ ผู้ประกันตน


สิทธิประโยชน์
กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
-ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่เลือกและได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างที่หยุดพัก จำนวนครึ่งหนึ่งของจ้างตามจำนวนวันที่หยุดจริงไม่เกินครั้งละ 90 วัน (180 วัน/ปี)

กรณีคลอดบุตร
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนคลอดบุตร จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 6,000 บาท และเงินสงเคราะห์อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน ( รวมไม่เกิน 4 ครั้ง )

กรณีทุพพลภาพ
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน จะได้ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิตหรือรับค่าทำศพ 3,000 บาท

กรณีถึงแก่ความตาย
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท และสงเคราะห์ หนึ่งเดือนครึ่ง (ทำงาน 3-10 ปี) และห้าเดือน (ทำงาน 10 ปีขึ้นไป)

กรณีสงเคราะห์บุตร
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์บุตรเหมาบุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาทต่อบุตรหนึ่งคน จนอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์


กรณีชราภาพ
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ มีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และสิ้นสุด การประกันตน มีสิทธิเลือกเงินบำนาญร้อยละ 15 ของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หรือบำเหน็จตามหลักเกณฑ์

กรณีว่างงาน
-ผู้จ่ายประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน กรณีถูกจ้างได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และกรณีลาออกได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง

No comments:

Post a Comment